ค้นหาข้อมูลในบล็อก (Search in this blog)

Monday, June 4, 2012

ภูมิสารสนเทศในยุค Spatio-temporal information system

วันนี้ตื่นขึ้นมาไม่รู้มีอะไรดลใจให้คิดถึงเกี่ยวกับ วิชาชีพและสิ่งที่ผมกำลังเรียนรู้อยู่ในปัจจุบัน คิดไปคิดมา ทำให้ผมได้ข้อสรุปดังนี้ครับ งานด้านภูมิสารสนเทศในยุคปัจจุบัน (5-10 ปีมานี้)ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม กล่าวคือ ยุคก่อนหน้านี้เราจะเน้นศึกษาสิ่งต่างๆเพียง 2 ด้าน กล่าวคือ สิ่งที่เราสนใจนั้นมีคุณลักษณะหรือคุณสมบัติ (Attribute) อย่างไร เมื่อมีตำแหน่ง (Space) ที่แตกต่างกัน แต่ในปัจจุบัน งานวิจัยต่างๆที่เกียวข้องกับภูมิสารสนเทศนั้นได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับเชิงเวลา (Temporal) ดังจะเห็นได้จากบทความงานวิจัย มาตรฐานการทำงานของโปรแกรมด้านภูมิสารสนเทศ หรือมาตรฐานการจัดเก็บข้อมูลในระบบฐานข้อมูล สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนแต่ให้ความสนใจเกี่ยวกับเวลาซึ่งนอกเหนือไปกว่า "ตำแหน่งและคุณลักษณะ" ถ้าจะอธิบายให้เข้าใจอย่าง่าย ผมขออนุญาตยกตัวอย่างภาพประกอบดังนี้ครับ

ภาพที่ 1 สิ่งที่งานด้านภูมิสารสนเทศให้ความสนใจ(เทียบได้กับแกนต่างๆ)
จากภาพตัวอย่างจะเห็นว่า ปัจจุบันนี้ เรามีประเด็นใหม่ที่ต้องให้ความสนใจ (ตระหนัก) ประกอบการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงตำแหน่ง (Spatial data analysis) นั่นคือเจ้า "เชิงเวลา (Temporal)" นั่นเอง
คำถามที่หลายๆท่านสงสัย เมื่อได้ยินคำว่า Spatio-temporal analysis คือ มีความแตกต่างจากรูปแบบเดิมอย่างไรและวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแตกต่างจากที่ทำๆกันอยู่ในปัจจุบันอย่างไร รวมถึงมันสำคัญและช่วยเราวิเคราะห์อะไรได้บ้าง???
 ครั้งหนึ่งผมเคยเข้ารับฟังการบรรยายเมื่อปี 2551 (2008) ระหว่างการประชุม ISPRS congress 2008 เกี่ยวกับการศึกษาด้าน Spatio-Temporal analysis ตอนนั้นต้องยอมรับว่า ผมเองก็ยังมองไม่เห็นภาพว่าเราจะนำความรู้เหล่านี้มาประยุกต์ใช้ได้อย่างไร..........


คราวหน้าผมจะมาแนะนำถึงความสามารถของเจ้า Spatio-Temporal analysis ครับ
ปล. ขนาด Facebook ยังมีทั้ง Location และ Timeline หรือว่าเจ้า Spatio-Temporal information system อยู่ใกล้ๆตัวเรานี่แหละ!!!