ค้นหาข้อมูลในบล็อก (Search in this blog)

Friday, August 20, 2010

ค่าละตูจิจูดและลองจิจูด ควรมีความละเอียดเท่าไหร่?

ไปเจอเว็บไซต์ที่น่าสนใจเกี่ยวกับการคำนวณความละเอียดของค่าละติจูดและลองจิจูด ว่ามีความไม่แน่นอนเท่าใดเมื่อเทียบหน่วยเมตริก (หรือระบบ UTM)
จากที่เราทราบ การกำหนดพิกัดของระบบพิกัดภูมิศาสตร์นั้นจะอาศัยการวัดเชิงมุุม โดยขนาดและรูปร่างของโลกนั้นจะขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นหลักฐาน (Datum) ที่เราเลือกใช้
คำถามคือถ้าเราต้องบอกค่าพิกัดด้วยระบบพิกัดภูมิศาสตร์ เราควรจะให้ความละเอียดเท่าไหร่ดี ??? (จำนวนจุดทศนิยม) เช่น ผมอยู่ที่พิกัด 98.98, 18.79 หรือ 98.980581, 18.799626 เป็นต้น จะเห็นได้ว่าทั้งสองจุดนี้มีความละเอียดไม่เท่ากันคือ จำนวนทศนิยมแค่ 2 หลักและจำนวนทศนิยม 6 หลัก เรามาลองคำนวณกันได้ ที่นี่ เลยครับ
จากตัวอย่างการคำนวณจะเห็นว่าถ้าผมบอกพิกัดแค่ 98.98, 18.79 จะทำให้มีความไม่แน่นอน (คล้ายๆไม่ค่อยมั่นใจ) สูงถึง 1528.60 เมตร (ความไม่แน่นอนจะขึ้นอยู่กับความละเอียดของจุดทศนิยมและระยะที่ห่างจากเส้นศูนย์สูตร)และหากผมใช้ค่า 98.980581, 18.799626 แล้วจะมีความไม่แน่นอนเพียง 0.15 เมตร
จากตัวอย่างจะเห็นว่าการบอกค่าพิกัดที่ความละเอียดของจุดทศนิยมที่แตกต่างกันนั้นจะทำให้การกำหนดตำแหน่งของเรามีความไม่นอนที่แตกต่างกันด้วย ดังนั้นหากจะระบุค่าตำแหน่งด้วยพิกัดภูมิศาสตร์ก็ลองคำนวณดูคร่าวๆได้นะครับว่าตำแหน่งของเรานั้นจะคลาดเคลื่อนไปเท่าใด (อย่าลืมอีกปัจจัยสำคัญคือ ระยะห่างจากเส้นศูนย์สูตรนะครับ ยิ่งห่างความไม่แน่นอนยิ่งน้อย) อ้อ... อีกอย่างนึงครับ เมื่อคำนวณความไม่แน่นอนแล้วลองคลิกที่ Open in coordinate converter ทางเว็บไซต์จะคำนวณค่าพิกัดในระบบ UTM ให้ด้วย หลังจากนั้นจะปรากฏของเล่นอีกมากมายเช่น เรียกดูผ่าน Google Maps หรือ Google Maps mashup เป็นต้น

ปล. การคำนวณจะใช้พื้นหลักฐาน WGS1984 นะครับ

Wednesday, August 4, 2010

วิธีใช้ RasterCalc ใน QGIS

ไม่นานมานี้มีเพื่อนๆบางคนเจอปัญหาไม่สามารถใช้งาน RasterCalc ที่เป็น Plugins ตัวนึงใน QGIS วันนี้เลยไปค้นหาวิธีแก้ไขมาดังนี้ครับ
  1. ดาวน์โหลด pyparsing จาก ที่นี่
  2. แตกไฟล์ออกมา (ของผมเก็บไว้ที่ C:\Program Files\Quantum GIS Tethys\python\pyparsing-1.5.2)
  3. คัดลอกไฟล์ pyparsing.py และ pyparsing_py3.py ไปเก็บไว้ที่ C:\Program Files\Quantum GIS Tethys\apps\Python25\Lib
  4. เรียก Plugins ที่ชื่อ RasterCalc ขึ้นมาใช้งาน

Tuesday, August 3, 2010

QGIS 1.5 แจ่มมาก.....

ได้ทราบข่าวจาก พี่วิโรจน์ ว่า Quantum GIS เพิ่งออกเวอร์ชันใหม่ เลยไปหามาลองใช้งาน ปรากฏว่า มีหลายเมนูน่าใช้มากๆๆ เช่น การแปลงระบบพิกัด การสร้างเส้นชั้นความสูงหรือการสร้างชั้นพีรามิดข้อมูลภาพ เป็นต้น ซึ่งการออกมาของเวอร์ชันนี้จะช่วยให้ผู้ใช้งานไม่ต้องสั่ง GDAL ทำงานผ่าน Cmmand line (คนรุ่นใหม่อาจจะไม่คุนเคย) โดยสามารถทำงานในลักษณะเดียวกันได้ผ่านทาง GUI ของโปรแกรม QGIS 1.5 (Tethys) สำหรับผู้ที่ต้องการดาวน์โหลดโปรแกรมสามารถคลิกได้ ทีนี่ เลยครับ
ส่วนผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับ GDAL ผมขออธิบายเกี่ยวกับ GDAL เบื้องต้นดังนี้ครับGDAL ย่อมาจาก Geospatial Data Abstraction Library เป็นคลังโปรแกรม (Library) ที่ได้มีประสิทธิภาพและได้รับความนิยมอย่างสูงสำหรับการประมวลผล ข้อมูลภาพและข้อมูลกริด (บางท่านอาจเรียกว่าข้อมูลแรสเตอร์) และข้อมูลข้อมูลเวคเตอร์ สำหรับงานด้านงานภูมิสารสนเทศ (GeoInformatics) รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ทางการ ที่นี่ ครับ

ตัวอย่างการใช้งาน GDAL ผ่านโปรแกรม QGIS 1.5 (Tethys) มีดังนี้ครับ
  1. การสร้างไฟล์เสมือน (gdalbuildvrt) #### QGIS --> Raster --> Build Virtual Raster (catalog)
  2. การสร้างเส้นชั้นความสูงจากข้อมูล (gdal_contour) #### QGIS --> Raster--> Contour
  3. การโมเสคข้อมูลข้อมูล (gdal_merge) #### QGIS --> Raster--> Merge
  4. การแปลงระบบพิกัดข้อมูล (gdalwarp) #### QGIS --> Raster--> Warp
  5. การประมาณค่าในช่วง หรือการทำ Interpolation (gdal_grid) #### QGIS --> Raster--> Grid
  6. การแปลงรูปแบบ/การตัด/การบีบอัดข้อมูล (gdal_translate) #### QGIS --> Raster--> Translate
  7. การเรียกดูข้อมูลหรือดู Header ข้อมูล (gdalinfo) #### QGIS --> Raster--> Information
  8. การกำหนดระบบอ้างอิงทางตำแหน่ง (gdalwarp) #### QGIS --> Raster--> Assign projection
  9. การสร้างชั้นพีรามิดข้อมูลภาพ (gdaladdo) #### QGIS --> Raster--> Buildoverviews
  10. การวิเคราะห์ข้อมูลแบบจำลองระดับสูงเชิงเลข (gdaldem) #### QGIS --> Plugins --> Raster based terrain analysis