ค้นหาข้อมูลในบล็อก (Search in this blog)

Tuesday, August 30, 2011

หัวข้อวิจัย อะไรดี???

มีเพื่อนๆหลายคนสอบถามว่า จะทำวิจัย(วิทยานิพนธ์)เรื่องอะไรดี?
ส่วนตัวผมแล้ว มักจะเริ่มจากเรื่องที่เราถนัด (พอจะทำได้หรือมีความสามารถที่จะทำได้) ก่อน แล้วค่อยขยายไปยังเรื่องอื่นๆ ปัญหาที่ตามมาคือ หลายๆคนมักถามต่อว่า แล้วเราถนัดอะไร? คำถามนี้ ผมคงตอบแทนไม่ได้ แต่ผมพอจะแนะนำได้ว่า งานวิจัยหรือการทำงานต่างๆนั้น ต้องประกอบด้วยความรู้ 2 ส่วนหลัก คือ 1) ความรู้และความชำนาญที่มีอยู่แล้ว และ 2) ความรู้และคำชำนาญที่จำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้งานบรรลุผลสำเร็จ ประเด็นหลักที่พบคือ หลายๆคน ไม่อยากจะหาความรู้และความชำนาญใหม่ๆ ที่เรายังไม่เคยเรียนรู้หรือไม่เคยทดลองทำมาก่อน ซึ่งเหตุผลที่มักได้ยินเสมอได้แก่ มันยาก ไม่เคยทำ หาคนสอนไม่ค่อยได้ ตนเองไม่น่าจะทำได้ ฯลฯ ซึ่งผมอยากจะบอกไว้เลยว่า "กำแพงเมืองจีนจะเสร็จได้ ก็ต่อเมื่อ การก่ออิฐก้อนแรกเริ่มต้นขึ้น" ดังนั้นไม่ว่าความรู้ใหม่หรือเครื่องมือใหม่ๆ ที่เราไม่รู้จักหรือไม่คุ้นเคย จำเป็นต้องอาศัยเวลาและความอดทนในการศึกษาและทดลองด้วยตนเอง ตรงนี้สำคัญมากๆครับ เพราะเพื่อนๆหลายคนจะพ่ายแพ้หรือล้มเลิกในขั้นนี้เสมอ ทำให้งานวิจัยไม่ประสบความสำเร็จ
ประเด็นถัดมาคือ "ความลึกซึ้งเท่าใดถึงจะเป็นหัวข้อวิทยานิพนธ์" ตรงนี้ ผมคงตอบไม่ได้ เพราะสถานศึกษาแต่ละแห่งก็มีปรัชญาที่แตกต่างกันออกไป (หลายมาตรฐานนั่นเอง ฮ่าๆๆๆ) แต่ผมอยากให้เพื่อนๆจำไว้ว่า งานของเราต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญดังนี้ (อย่างน้อยต้องมีสักข้อ)
1. ความใหม่ของเนื้อหา (First) หรือ เป็นคนแรกที่ทำการศึกษาในประเด็นต่างๆ ซึ่งอาจรวมถึงความใหม่ในเรื่องของการประยุกต์ใช้เทคนิคหรือเครื่องมือใหม่ๆในการแก้ไขปัญหา (ไม่เคยมีใครทำมาก่อน)
2. ความดีที่สุด (Best) หรือ การปรับปรุงเทคนิคหรือวิธีการเดิมเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น เช่น การปรับปรุงแบบจำลองต่างๆเพื่อให้เหมาะสมกับเงื่อนไขเฉพาะหรือพื้นที่เฉพาะ
3. ความแตกต่าง (Difference) กล่าวคือ ต้องไม่เหมือนหรือซ้ำกับงานของคนอื่นๆ เพราะถ้าเหมือนกัน ก็คือ การคัดลอก (ทั้งแบบตั้งใจและไม่ตั้งใจ) ในส่วนนี้อาจต้องอาศัย การอ่านบทความให้เยอะเข้าไว้ เพื่อจะได้เปรียบเทียบกับงานวิจัยของคนอื่นๆว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่ แต่!!! งานของเพื่อนๆต้องไม่ใช่ การศึกษาด้วยวิธีการหรือเทคนิคเดียวกันแต่เปลี่ยนพื้นที่ศึกษานะครับ (ยกเว้นเราต้องการศึกษาเบื้องต้นก่อนแล้วค่อยปรับปรุงหรือพัฒนาวิธีการหรือแบบจำลองเพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะเฉพาะของพื้นที่ศึกษา)
หวังว่า ความคิดเห็น จากคนที่ไม่ค่อยมีความรู้อย่างผมน่าจะช่วยเพื่อนๆในการหาหัวข้อวิจัยได้บ้างนะครับ

Monday, August 1, 2011

Resampling ภาพด้วย gdalwarp

วันนี้ขอเสนอวิธีการ resampling ข้อมูลภาพเพื่อให้มีขนาดหรือจำนวนจุดภาพเท่าที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น ภาพเดิมมีขนาด 300x300 จุดภาพ แต่ต้องการเพิ่มให้เป็น 1200x1200 จุดภาพ เรามาดูวิธีการกันเลยนะครับ
คำสั่งหรือโปรแกรมประยุกต์ที่ใช้คือ gdalwarp ส่วน option หรือ ทางเลือกที่จะใช้คือ -ts width height ดังนี้ครับ

>>>gdalwarp -ts width height inputfile outputfile

ตัวอย่างการใช้งานมีดังนี้ครับ

>>>gdalwarp -ts 1200 1200 abc300.tif abc1200.tif

ปล. หากต้องการระบุวิธี resampling ให้เพิ่มทางเลือก -r xxxx นะครับ เช่น -r bilinear, cubic, cubicspline หรือ lanczos. แต่ถ้าไม่ระบุโปรแกรมจะใช้วิธี nearest เป็นค่าเริ่มต้นครับ