ค้นหาข้อมูลในบล็อก (Search in this blog)

Saturday, July 30, 2011

แปลงระบบพิกัด แบบหลายจุด ด้วย cs2cs

วิธีการนี้ ผมได้รับการแนะนำจาก พี่ วิโรจน์ (เทพองค์หนึ่งในงาน GeoInformatics ที่ใช้ Free.Open Source Software - FOSS) เมื่อนานมาแล้ว วันนี้ขอบันทึกไว้กันลืม ดังนี้ครับ
CS2CS นั้นเป็นโปรแกรมประยุกต์ตัวหนึ่งสำหรับการแปลงระบบพิกัดของค่าพิกัดแบบจุด (มีเฉพาะค่าพิกัดของแต่ละจุดเท่านั้น) นั่นหมายความว่า ข้อมูลต้องอยู่ในรูป คู่ของค่าพิกัด เช่น 525000 1800000 เป็นต้น
*** โปรแกรมประยุกต์นี้จะมีอยู่แล้วใน GDAL หรือที่ถูกรวมไว้แล้วใน FWTOOLS ครับ ดังนั้นไม่จำเป็นต้องดาวน์โหลดเพิ่มเติมครับ***
เรามาดูตัวอย่างกันเลยนะครับ ตัวอย่างผมมีข้อมูลแบบอักขระ (Text file) ที่เมื่อเปิดด้วย Text Editor ทั่วไป เช่น Notepad หรือ Notepad++ แล้วจะมีหน้าตาดังนี้ ชื่อไฟล์ EN.txt












ตัวอย่างทางเลือก (Option) ที่น่าสนใจ
-E ใช้ในกรณีที่ต้องการนำค่าจากไฟล์นต้นฉบับหรือไฟล์นำเข้า (Input) ไปใส่ไว้ในไฟล์ผลลัพธ์ (Output) ด้วย
-f ใช้สำหรับกำหนดรูปแบบไฟล์ผลลัพธ์ เช่น ความละเอียด(ระดับจุดทศนิยม)ของผลลัพธ์ที่ต้องการ ตัวอย่างการใช้งานคือ -f "%.9f" จะได้ผลลัพธ์ทีี่มีจุดทศนิยมจำนวน 9 ตำแหน่ง เป็นต้น
-r ใช้สำหรับสลับค่าพิกัดขอไฟล์ต้นฉบับ จาก XY เป็น YX หรือ Lat, Long ให้เป็น Long, Lat
-s ใช้สำหรับสลับค่าพิกัดขอไฟล์ผลลัพธ์ จาก XY เป็น YX หรือ Lat, Long ให้เป็น Long, Lat
**** ตรงนี้น่าสนใจครับ เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ผมแนะนำทุกท่านเตรียมข้อมูลให้อยู่ในแบบ (Easting, Northing) สำหรับระบบพิกัดกริด UTM โดยไม่จำเป็นต้องระบุทางเลือก -r หรือ -s
ส่วนตัวอย่างการใช้งานมีดังนี้

>>>cs2cs -E -f "%.9f" +init=epsg:32647 +to +init=epsg:4326 EN.txt

ผลลัพธ์ที่ได้มีดังภาพ






หรือถ้าต้องการแปลงผลลัพธ์ให้เป็นไฟล์อักขระ (Text file) ใหม่อีกไฟล์หนึ่งสามารถทำได้ดังนี้ครับ

>>>cs2cs -E -f "%.9f" +init=epsg:32647 +to +init=epsg:4326 EN.txt > LongLat.txt

ส่วนการแปลงค่าระบบภูมิศาสตร์ให้เป็นระบบพิกัดกริด UTM นั้นแนะนำให้ใช้รูปแบบ (Long, Lat) ครับ

เพื่อไม่ให้สับสนและอาจมีการระบุรูปแบบผิด ผมขอสรุปและแนะนำอีกที ดังนี้
ในกรณีที่ไม่ใช้ทางเลือก -r หรือ -s นั้น
  • การแปลง UTM2Geog ถ้ารูปแบบไฟล์ต้นฉบับคือ (Easting, Northing) จะได้ผลลัพธ์คือรูปแบบ (Long, Lat)
  • ส่วนการแปลง Geog2UTM ถ้ารูปแบบไฟล์ต้นฉบับคือ (Long, Lat) จะได้ผลลัพธ์คือรูปแบบ (Easting, Northing)

Wednesday, July 27, 2011

ความแตกต่างระหว่าง Objective และ Subjective

ไปอ่านเจอคำศัพท์ที่น่าสนใจ 2 คำคือ Objective และ Subjective ในบทความวิชาการและตำราหลายๆเล่ม แต่ผมก็ยังแยกความแตกต่างไม่ได้อย่างชัดเจนว่า สองคำนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร วันนี้เลยต้องขอบันทึกความหมาย (ไม่ใช่การแปล) ที่พอจะสรุปได้จากการค้นคว้าดังนี้

Objective แปลโดย ศัพท์บัญญัติ ราชบัณฑิตยสถาน นั้น มีหลายความหมายได้แก่ เชิงวัตถุวิสัย, วัตถุประสงค์ หรือ ปรนัย ส่วน
Subjective นั้นแปลว่า ความรู้สึกแห่งตน, เชิงจิตวิสัย หรือ อัตนัย

แค่เพียงความหมายก็น่าจะพอสรุปได้ว่า Subjective นั้นต้องเกี่ยวข้องกับความเป็นตัวตนหรือส่วนบุคคล (อัต-) นั่นหมายถึงบริบทของคำนี้ ไม่อาจสรุปหรือประเมินได้อย่างเที่ยงตรง (ไม่เสถียร) หรือได้คำตอบเหมือนเดิมทุกครั้งในทุกๆการวัด เนื่องจากขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ความรู้ ความชำนาญหรือเกณฑ์ของแต่ละบุคคลที่ใช้ในการวัด ดังเช่น ตัวอย่างความหมายของ Objective data และ Subjective data ที่มักพบเสมอในเรื่อง การตัดสินใจแบบหลายเกณฑ์ (Multi-Criteria Decision)

ดังนั้น ผมอาจสรุปได้ว่า Objective นั้นมีความเป็นสากล จริงแท้ เที่ยงตรง มากกว่า Subjective ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเป็นส่วนบุคคล ครับ

ปล. การแปลความหมายจำเป็นต้องคำนึงถึงบริบทของคำศัพท์ด้วยเสมอนะครับ