ทั้งนี้อาจมีข้อมูลบางอย่างคลาดเคลื่อน (อันเนื่องจากความไม่รู้ของกระผมเอง)จึงไม่แนะนำให้อ้างอิง (ควรอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลต้นฉบับโดยตรง) ซึ่งผมมีวัตถุประสงค์หลักของการสร้าง Blog นี้คือ เอาไว้เตือนความจำตัวเองขณะทำงานวิจัย (อายุมากขึ้นทำให้ความจำเริ่มสั้นลง แฮะๆๆ)
...มาเข้าเรื่องกันดีกว่าครับ...
การรังวัดด้วยภาพ (Photogrammetry) ได้มีการนิยามโดย American Society for Photogrammetry and Remote Sensing (ASPRS) คือ ศาสตร์ ศิลป์และเทคโนโลยีของการได้มาซึ่งข้อมูลอย่างน่าเชื่อถือเกี่ยวกับวัตุทางกายภาพและสิ่งแวดล้อมโดยผ่านกระบวนการบันทึก การรังวัดและการแปลตีความข้อมูลภาพและรูปแบบการบันทึกพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ารวมถึงปรากฏการณ์อื่นๆ(ที่เกี่ยวข้อง)
โดยทั่วไปแล้วข้อมูลภาพที่ใช้ในงานสาขานี้จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่
- ข้อมูลภาพจากอากาศ (Aerial photos) จากการบันทึกด้วยอากาศยาน (Airborne vehicle) เช่น เครื่องบิน อากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle - UAV)หรือเฮลิคอปเตอร์ เป็นต้น ในปัจจุบันนั้นยังรวมไปถึงอวกาศยาน (Spaceborne vehicle) เช่น ดาวเทียมหรือกระสวยอวกาศ อีกด้วย
- ข้อมูลภาพที่บันทึกบนโลก (Terrestrial photos) ที่มีการบันทึกด้วยอุปกรณ์บนพื้นโลก (Earth based)
การรังวัดด้วยภาพนั้นอาศัยเทคนิคและวิทยาศาสตร์ทางด้านแสงและการมองเห็น (Optic) โดยเราจะสนใจคุณสมบัติหลักของแสง 2 ประเภทหลักคือ คุณลักษณะทางกายภาพและคุณลักษณะทางเรขาคณิต ทางกายภาพแสงจะเดินทางผ่านตัวกลาง (เช่น อากาศ) ในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากแหล่งกำเนิด ซึ่งในบางกรณีอาจเรียกว่า การแผ่รังสี (Radiation) ความเร็วของแสงนจากแหล่งกำเนิดจะเรียกว่า อัตราความเร็ว (Velocity) ซึ่งสัมพันธ์กับ ความถี่และความยาวคลื่น (Frequency and Wavelength) ดังสมการต่อไปนี้โดยอัตราความเร็วของแสงที่เคลื่อนที่ในสุญญากาศเท่ากับ 299,792,458 เมตรต่อวินาที ส่วนคุณลักษณะทางเรขาคณิตของแสงนั้นจะพิจารณาการเดินทางของแสงแบบ เส้นตรง จากแหล่งกำเนิดครับ
No comments:
Post a Comment