ค้นหาข้อมูลในบล็อก (Search in this blog)

Saturday, July 11, 2009

การใช้งาน Quiver Plot ด้วยโปรแกรม Octave

วันนี้มีวิธีการใช้งาน Quiver plot ด้วยโปรแกรม Octave มาแนะนำครับ!!!
ฟังก์ชัน Quiver นั้นสามารถช่วยแสดงความคลาดเคลื่อน(หรือการเปลี่ยนแปลง)ในงาน Geomatics ได้หลายแบบ เช่น ความคลาดเคลื่อนทางตำแหน่งหลังการดัดแก้ออร์โท การเปลี่ยนแปลงทางตำแหน่งของหมุดหลักฐานหลังการเกิดแผ่นดินไหว หรือความผิดเพี้ยนของเลนส์ (Lens Distortion) เป็นต้น โดยเราสามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้ด้วยค่า(ตัวเลขจำนวนจริง)หรือสมการทางคณิตศาสตร์
ในครั้งนี้เราจะมาลองการใช้งานอย่างง่าย โดยเราต้องเตรียมข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบ ดังนี้ครับ [x, y, u, v] โดยที่ค่า x คือค่าพิกัดอ้างอิงทางแกน x และ y คือค่าพิกัดอ้างอิงทางแกน y ส่วน u คือค่าพิกัดที่เปลี่ยนแปลง(คลาดเคลื่อน)ทางแกน x และ v คือค่าพิกัดที่เปลี่ยนแปลงทางแกน y
ในตัวอย่างนี้ผมกำหนดชื่อไฟล์คือ C:\test.txt ตัวอย่างของข้อมูลมีดังนี้ครับ

487787.27 2071326.71 -0.36 4.33
486904.32 2068177.13 -1.06 -2.25
490220.08 2066478.38 1.70 -1.25
491029.95 2068104.50 -2.93 2.62

หลังจากสร้าง Text ไฟล์ตามรูปแบบข้างต้นแล้ว ต่อมาให้ทำการโหลดข้อมูลจาก Text ไฟล์และกำหนดค่าลงในเมทริกซ์ด้วยคำสั่งในโปรแกรม Octave ดังตัวอย่างดังนี้

>>load c:\test.txt
>>x=test(:,1);
>>y=test(:,2);
>>u=test(:,3);
>>v=test(:,4);

หลังจากนั้นจึงใช้คำสั่ง quiver ในการสร้างกราฟ ซึ่งอาจเพิ่มค่า Scale factor หรือค่าเกินจริง (Exaggeration) ได้โดยการกำหนดตัวคูณเพิ่มต่อท้าย ดังตัวอย่างดังนี้ครับ

>>quiver (x,y,u,v)
หรือ
>>quiver (x,y,u,v,10)

ตัวอย่างผลลัพธ์ดังภาพครับ

ลองใช้กันดูนะครับ หากมีข้อสงสัยสอบถามได้ครับ

ปล. ขอบคุณพี่ ภานุ สำหรับคำแนะนำการใช้งาน Octave เบื้องต้นครับ

No comments:

Post a Comment